หน้าแรก >> การประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ เบญจมิตรวิชาการ ครั้งที่ 10 วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม 2563 เวลา 9.00 – 17.00 น. ณ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่


การประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ เบญจมิตรวิชาการ ครั้งที่ 10 วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม 2563 เวลา 9.00 – 17.00 น. ณ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่  จัดโดยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่เป็นพันธมิตรทางวิชาการร่วมกันทั้งสิ้น 8 แห่ง คือ  มหาวิทยาลัยธนบุรี มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์  มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ    มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ  มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น  วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง วิทยาลัยเซาธ์อีสบางกอก และ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ 
พิธีเปิด เริ่มตั้งแต่เวลา 9.00 น. กล่าวรายงานโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พิธากรณ์ ธนิตเบญจสิทธิ์    รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ในฐานะประธานจัดการประชุมฯ ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.ณรงค์ ชวสินธุ์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่  เป็นประธานในพิธีเปิด การประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ เบญจมิตรวิชาการ ครั้งที่ 10 ซึ่งเป็นการปรับรูปโฉมการนำเสนอผลงานวิจัยระดับนานาชาติ และระดับนานาชาติ ทั้งภาคบรรยาย และภาคโปสเตอร์ ให้เป็นรูปแบบออนไลน์ทั้งสิ้น เพื่อตอบสนองนโยบายของภาครัฐ กล่าวคือ เมื่อรัฐบาลตัดสินใจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของมาตรการเพิ่มระยะห่างทางสังคม (Social Distancing)  จึงจำเป็นต้องงดการประชุมรวมตัวกันของคนจำนวนมาก โดยอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ดังนั้นการประชุมเบญจมิตรวิชาการ ครั้งที่ 10 จึงต้องจัดเป็นรูปแบบออนไลน์ ทั้งหมด ซึ่งมีผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมจำนวนมากกว่า 500 ผลงาน แบ่งออกเป็น  5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  กลุ่มที่ 2 เทคโนโลยีดิจิทัล กลุ่มที่ 3   บริหารธุรกิจ  กลุ่มที่ 4   ศึกษาศาสตร์  กลุ่มที่ 5   สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 
หลังเสร็จสิ้นพิธีการเปิด  จะเป็นการปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “สถาบันอุดมศึกษาไทย : พลังขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน” (THAI HIGHER EDUCATION INSTITUTIONS: EMPOWERING TOWARDS SUSTAINABLE DEVELOPMENT GOALS) เพื่อนำเสนอการพัฒนาศักยภาพของคนทั้งประเทศ การผลิตกำลังคนที่มีคุณภาพสนองความต้องการตลาด  ผ่านหลักสูตรที่ยืดหยุ่น หลากหลาย รู้หลายศาสตร์ มีการลด boundary ระหว่างคณะ โดยกำหนดเป้าหมายที่คิดร่วมกับผู้ใช้ และเปิดกว้าง เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา เน้นจัดการเรียนรู้ข้อเท็จจริง สถานที่จริง ทำงานได้จริง 
- สร้างความเข้มแข็งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (STEM Education & Skill,  Entrepreneurship) 
- การวิจัยและการบริการวิชาการที่มองการใช้ประโยชน์/ผู้ใช้ประโยชน์ชัดเจนแต่แรก สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยความร่วมมือกับภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม และภาคส่วนต่าง ๆของสังคม 
- เน้นความร่วมมือกับภาคประชารัฐในการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละพื้นที่ (Area-Based Approach) เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นที่พึ่งทางวิชาการ ระบบข้อมูลสารสนเทศ กลไกการจัดการ การเตรียมความพร้อมในระดับพื้นที่หรือท้องถิ่น 
- มหาวิทยาลัยสร้างเครือข่ายร่วมกัน เชื่อมต่อกันด้วยอินเทอร์เน็ต เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพของโลกสมัยใหม่ที่มีการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงสูงอยู่ตลอดเวลา ความจริง ที่กำลังจะเกิดขึ้นคือมหาวิทยาลัยจะดำรงตนอย่างโดดเดี่ยวเหมือนเดิมไม่ได้อีกต่อไปในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล จึงควรมีการแลกเปลี่ยนคอนเท็นต์/หลักสูตร            การช่วยกันพัฒนาคอนเท็นต์/หลักสูตร เปลี่ยนตัวเองให้เป็นสถานที่ที่ผู้คนทั่วไปทั่วโลกนักศึกษาต่างมหาวิทยาลัย สามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ และมี credit transfer ซึ่งควรเอื้อต่อสถาบันวิทยาลัยชุมชนด้วย 
- ยกระดับ English Proficiency & Digital skills 
- Demand-Based Financing 
องค์ปาฐกครั้งนี้ คือ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณนายแพทย์อุดม คชินทร  ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม  และ ที่ปรึกษา คณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคอุบัติใหม่แห่งชาติ  ท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการยอมรับสูง ทั้งด้านวิชาการและการบริหาร ผ่านการดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น 
• สมาชิกวุฒิสภา หมายเลข 245  ตามที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ตามมาตรา 269 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (11 พ.ค. 2562 – 20 ก.พ. 2563) 
• รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (23 พ.ย. 2560- 8 พ.ค. 2562) 
• อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล (1 ม.ค. 2558 – 31 ก.ค. 2560 ) 
• คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล (9 ธ.ค. 2554 – 21 ม.ค.2558)  
เกียรติประวัติ/รางวัลที่เคยได้รับ 
• แพทย์ประจำบ้านดีเด่น ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พ.ศ. 2524 
• Quality Person of the Year 2009 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พ.ศ. 2552 
• ศิษย์เก่าดีเด่นสมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2554 
• เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ. 2555 
• ประธานการจัดประชุมวิชาการโรคระบบทางเดินอาหารภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค พ.ศ. 2555 
• บุคลากรดีเด่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พ.ศ. 2555 
• ศิษย์เก่าดีเด่นบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2555 
• ศิษย์เก่าดีเด่นสมาคมศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2556 
• นักบริหารโรงพยาบาลดีเด่นแห่งชาติ พ.ศ. 2556  
ท่านที่สนใจเข้าร่วมพิธีเปิด และรับฟังการปาฐกถาพิเศษครั้งนี้ เวลา 9.00-10.45 น. ได้ทางออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom  หรือสอบถามข้อมูล จากนางสาวสิรินทร์รัตน์ สายเครื่อง โทรศัพท์ 080-4918080 / 064-44755556 


ผู้ประกาศข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ มนช. ประกาศข่าวเมื่อ : 18 พฤษภาคม 2563
| |