หน้าแรก >> บทความดีดี "เมตตาธรรมของพันธมิตรข้ามขอบฟ้า"


เมตตาธรรมของพันธมิตรข้ามขอบฟ้า

ดร.ฟิลลิป ลาวกล่าวคำปราศรัย

โจน ลาว ภรรยาของดร.ฟิลลิป ลาว

บทความชิ้นนี้ผมใคร่ขออนุญาตนำเรื่องราวดีๆเกี่ยวกับผลงานของนักบุกเบิก นักจิตกุศล และยังเป็นอัจฉริยะด้านการผลิตยารักษาโรคระดับโลกที่มีผลงานผ่านมาแล้วกว่า 600 ชิ้น ที่ท่านมีเมตตาเต็มใจและยินดีที่จะแบ่งปันเงินทองของครอบครัวให้แก่วงการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ท่านที่ผมกล่าวมาข้างต้นผู้นี้ก็คือ “ศาสตราจารย์ดร.ฟิลลิป ลาว” แห่ง “มหาวิทยาลัยเพอร์ดู” ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งหนึ่งของโลก ที่ “นีล อาร์มสตรอง” ศิษย์เก่าของสถาบันแห่งนี้ได้สร้างชื่อเสียงดังกระฉ่อนไปทั่วโลกในการที่เป็นนักบินอวกาศผู้ที่ก้าวขาลงเหยียบโลกพระจันทร์เป็นคนแรกเมื่อปีค.ศ. 1969 นั่นเอง!!!

โดยเมื่อสองปีก่อน ศาสตราจารย์ดร.ฟิลลิป ลาวพร้อมด้วยภรรยา ร่วมเดินทางมาพร้อมกับ“ศาสตราจารย์ ดร.ชัด อัลเรด”และภรรยา ไปยังประเทศไทย เพื่อช่วยเหลือทางด้านการพิชิตและป้องกัน “โรคมาลาเรีย”ในประเทศไทยซึ่ง ดร.ฟิลลิป ลาว มีความเชี่ยวชาญทางโรคนี้โดยเฉพาะ

ท่านอธิการบดี ดร.ณรงค์ ชวสินธุ์กับ ดร.ฟิลลิป ลาว

คณะผู้บริหารแห่งมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ต้อนรับดร.ฟิลลิป ลาวและภรรยากับดร.ชัด อัลเรด

บรรยากาศเลี้ยงอาหารค่ำให้ดร.ลาว/ภรรยาและดร.ชัด อัลเรด

และการเดินทางไปยังภาคเหนือของไทย เพื่อไปเยือน “มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่” ในครั้งนั้นดร.ฟิลลิป ลาว มีความประทับใจต่อวิสัยทัศน์และการเสียสละของ “อธิการบดีดร.ณรงค์ ชวสินธุ์” เป็นอย่างสูง ในการที่ท่านอธิการฯมีเจตนารมณ์ก่อตั้งมหาวิทยาลัยก็เพื่อมอบความรู้และต้องการที่จะช่วยเหลือหยิบยื่นอนาคตที่ดีให้แก่เยาวชนรุ่นใหม่ และเหนือสิ่งอื่นใดท่านยังมีปณิธานที่มุ่งมั่นอยู่ในใจของท่านตลอดเวลา โดยสิ่งนั้นก็คือ “ต้องการที่จะตอบแทนบุญคุณของแผ่นดินเกิด” ที่ท่านกล่าวว่า รู้สึกซาบซึ้งและกตัญญูต่อพระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ที่ทรงพระราชทานเอาไว้ตอนหนึ่งว่า  “ ไม่มีการให้ใดเสมอเหมือนการให้การศึกษา เพราะการให้การศึกษา เป็นการให้ที่สมบูรณ์ ครบถ้วนและยั่งยืน…”

อนึ่งเมื่อหกเดือนก่อน “รองอธิการบดีชุติมา ชวสินธุ์” ได้ส่งข้อความสั้นๆผ่านทางไลน์ให้ผมโทรศัพท์กลับไปเมืองประเทศไทย เพื่อต้องการที่จะพูดคุยและปรึกษาเกี่ยวกับแนวความคิดอันยิ่งใหญ่ที่อยู่ในห้วงหัวใจของเธอตลอดเวลา

และเมื่อผมโทรกลับไปรองอธิการบดีชุติมา ก็ได้กล่าวเอ่ยขึ้นมาว่า “ทุกๆปี มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ได้มอบทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาเรียนที่เรียนดี แต่ขาดทุนทรัพย์ มาแล้วอย่างยาวนาน” โดยเธอเล็งเห็นว่า ยังมีนักศึกษาชาวเขาอีกมากมายที่เรียนดี แต่ยังขาดโอกาส ซึ่งเธอยังกล่าวความในใจต่อไปอีกว่า “น่าจะหาเงินบริจาคจากผู้ใจบุญในสหรัฐอเมริกา มามอบโอกาสดีๆให้แก่นักศึกษาเหล่านั้น ที่มหาวิทยาลัยให้ทุนเรียนต่อแล้วก็ตาม แต่พวกเขาก็ยังขาดค่าใช้จ่ายต่างๆในการดำรงชีวิต”

ทันทีที่ผมวางโทรศัพท์เสร็จสิ้นการเจรจากับรองอธิการบดีชุติมา ผมก็เริ่มดำเนินการในทันที โดยผมนึกถึงบุคคลท่านหนึ่ง ซึ่งถือเป็นการประเดิมและเป็นความหวังแรก โดยติดต่อไปยังดร.ชัด อัลเรด กัลยาณมิตรที่รักและสนิทสนมกันมาอย่างยาวนานกว่าสิบปี

แทบไม่น่าเชื่อเลยว่า สองวันต่อมาผมได้รับข่าวดีว่า ดร.ฟิลลิป ลาว ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะมอบทุนการศึกษา

แต่การที่จะได้รับทุนจากสหรัฐอเมริกานั้น ถือได้ว่า มิใช่เป็นเรื่องง่ายๆ เพราะจำต้องมีรายละเอียดมากมายและจะต้องผ่านขั้นตอนต่างๆนานาประการอย่างถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วย!!!

ทั้งนี้เมื่อการจัดเตรียมทุกๆสิ่งทุกๆอย่างได้พร้อมเสร็จสรรพแล้ว ดร.ฟิลลิป ลาว ก็ได้ฝากเงินก้อนโตไว้เป็นกองทุนระยะยาวแบบถาวรสำหรับนักศึกษา ณ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

เนื่องจากจุดมุ่งหมายของ ท่านอธิการบดีดร.ณรงค์ ชวสินธุ์ ที่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ขึ้นมานั้น ท่านมิได้หวังกำไรใดๆทั้งสิ้น

และต่อมาหลังจากที่ “อาจารย์เสวตร์ ตาจุมปา” ผู้อำนวยการฝ่ายต่างประเทศ ที่ท่านได้รับมอบหมายให้เข้ามารับหน้าที่ขับเคลื่อนกับมูลนิธิดังกล่าวนี้เป็นเวลานาน ในที่สุดก็ได้รับข่าวดีว่าได้รับการอนุมัติจากมูลนิธินี้ และยังได้รับประกาศนียบัตรรับรองว่า “มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ผ่านการตรวจสอบที่เข้มงวดทั้งหมดว่าเป็นสถาบันที่ไม่แสวงหากำไร”

อีกทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา “มูลนิธิ Charities Aid Foundation America”  ยังได้ขึ้นชื่อของมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ไว้บนเว็ปไซด์ว่า “สถาบันการศึกษาแห่งนี้มีสิทธิ์อย่างถูกต้องตามกฎหมายสหรัฐฯ ในการรับเงินบริจาคในสหรัฐอเมริกา”

และเป็นที่น่ายินดีเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ได้รับเงินงวดแรกจากมูลนิธิ Charities Aid Foundation America ที่ถือเป็นเงินบริจาคก้อนแรกจากประเทศสหรัฐอเมริกา

กล่าวโดยสรุปทั้งนี้และทั้งนั้น กองทุนการศึกษาที่มาจากน้ำใจอันเต็มเปี่ยมไปด้วยเมตตาจิตของ “ดร.ฟิลลิป ลาว. และครอบครัวของท่านในครั้งนี้ นับว่าเป็นเกียรติต่อ “มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่” ที่ได้รับความไว้วางใจและความเชื่อถือจากพันธมิตรสองฝั่งโลก ที่ถือได้ว่าระยะทางมิได้เป็นอุปสรรคต่อการสานสัมพันธ์อันดี และยังทำให้ผมได้เรียนรู้ว่า ปัญหาทุกๆปัญหาย่อมมีทางออก หากว่าเราไม่ยอมแพ้และไม่ท้อแท้ปัญหาต่างๆก็แก้ได้ไม่ยากละครับ.

https://live.siammedia.org/index.php/article/bankhao-banrao/122973

 

โดย…ดร.วิวัฒน์ เศรษฐช่วย  ที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

 

 


ผู้ประกาศข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ มนช. ประกาศข่าวเมื่อ : 27 พฤษภาคม 2567
| |